ASEAN

โพสท์ใน เรื่องทั่วไป | ใส่ความเห็น

โครงงานวิทยาศาสตร์

ความรู้เรื่องโครงงาน

คำนำ

 

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิคแบบโครงงาน เป็นการจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานจริง  ได้รับประสบการณ์ตรง  ได้เรียนตามความถนัด    และตามความสนใจของตนเอง ได้ทำงานอย่างมีระบบขั้นตอน  ฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตาม    รู้จักคิดวิเคราะห์  ประเมินผลงานด้วยตนเอง  ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกทักษะกระบวนการต่างๆ   ที่จำเป็นในการดำรงชีวิต โดยครูผู้สอนเป็นที่ปรึกษา  คอยอำนวยความสะดวก  และชี้แนะแนวทางในการทำงาน  ร่วมแก้ปัญหาในการทำโครงงานที่ผู้เรียนมาปรึกษา ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนพัฒนาความรู้ ทักษะและผลิตผลงานที่มีคุณภาพ

เอกสารประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชางานช่าง โดยใช้เทคนิคแบบโครงงานเล่มนี้ ได้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้เทคนิคแบบโครงงาน ซึ่งมีขั้นตอนการปฏิบัติเริ่มตั้งแต่  ความหมายของโครงงาน การคิดเลือกหัวเรื่องโครงงานและศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง  การเขียนเค้าโครงของโครงงาน การปฏิบัติโครงงาน การเขียนรายงาน  และการนำเสนอ   ตลอดจนมีแบบฟอร์มสำหรับการประเมินผลที่มีความแตกต่างกันออกไปตามลักษณะกิจกรรมของโครงงานนั้นๆ    ซึ่งผู้สอนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ให้มีความเหมาะสมกับสภาพการปฏิบัติโครงงาน  โดยพิจารณาว่าอยู่ในลักษณะของกิจกรรมว่าเป็นโครงงานประเภทใดหรือรูปแบบใด

เนื้อหาในเอกสารเล่มนี้ได้รวบรวมมา เพื่อให้ผู้สอนได้นำไปประยุกต์ใช้กับนักเรียนตามความเหมาะสมกับบริบทและสภาพแวดล้อม ตลอดจนเวลา โดยมุ่งให้ผู้เรียนเก่ง  มีคุณธรรมความดี  และทำการค้นคว้าหาความรู้จากการทำโครงงานอย่างมีความสุข

เว็บไซต์ต่างๆที่นำมาอ้างอิงในเอกสารเล่มนี้  ล้วนแล้วแต่ปรากฏในตอนที่รวบรวม  แต่เนื่องจากโลกอินเตอร์เน็ตมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  เว็บไซต์บางแห่งอาจยกเลิกไปตามกาลเวลาด้วยสาเหตุนาๆประการ  สุดวิสัยที่จะทำการแก้ไขได้ทันเวลาหรือยกเลิกเนื้อหานั้นได้

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้งานช่าง ที่ใช้เทคนิคการสอนแบบโครงงาน  จะเป็นแนวทางในการนำไปปรับใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของกลุ่มสาระต่างๆได้อย่างเหมาะสม

 

 (นายเติมศักดิ์ สุวรรณ)

ครูชำนาญการ

การสอนแบบโครงงาน     ( Project    Method  )

 

“ การสอนแบบโครงงาน ” Project Method ///

 การเรียนรู้แบบโครงงาน  Project Learning//

/โครงงาน (Project Approach) / Project Work / Project Based Learning /Project Design )

แนวคิดพื้นฐานและความหมายของการจัดการเรียนรู้โดยโครงงาน

มาจากแนวความคิดพื้นฐานของการเรียนรู้ ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางหรือผู้เรียนเป็นสำคัญ(Child Center) ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง  ได้ฝึกกระบวนการต่างๆในวิชาที่เรียนเชื่อมโยงกับชีวิตจริง  โดยผู้เรียนต้องศึกษา    หลักการ และวิธีการเกี่ยวกับโครงงานที่เลือก   วิเคราะห์    วางแผนการทำงาน ลงมือทำงาน และปรับปรุงเพื่อให้งานบรรลุตามวัตถุประสงค์  เป็นการเรียนรู้ที่มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรม  ตามความสามารถ ความถนัด และความสนใจของตนเอง  โดยอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทำให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ตรง ฝึกการคิดวิเคราะห์  ได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา หรือกระบวนการอื่นๆอย่างเป็นระบบ มีครูผู้สอนเป็นที่ปรึกษา  คอยอำนวยความสะดวกหรือชี้แนะแนวทางในการทำงาน  ร่วมแก้ปัญหาในการทำโครงงาน  ทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาและสร้างความรู้  ทักษะและผลผลิตที่มีคุณภาพ ได้รับการพัฒนาในทุกๆด้าน  ส่งผลให้ผู้เรียนเป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพของชาติ บรรลุตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร

กระทรวงศึกษาธิการ (2539,46)ได้ให้ความหมายไว้ว่าการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน  คือการเรียนการสอนที่จัดประสบการณ์ในการปฏิบัติงานให้แก่เด็ก เหมือนกับการทำงานในชีวิตจริง เพื่อให้เด็กได้ประสบการณ์โดยตรง  เด็กได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา  โดยวิธีทางวิทยาศาสตร์  เด็กได้ทำการทดลอง  ได้พิสูจน์สิ่งต่างๆด้วยตนเอง  รู้จักหาวิธีการต่างๆมาแก้ปัญหา    เด็กจะทำงานอย่างเป็นระบบขั้นตอนรู้จักวางแผน ฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตาม  ฝึกการคิดวิเคราะห์  และประเมินตนเอง
การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน  หมายถึง การศึกษาค้นคว้าผลงานตามที่ตนเองถนัด มีความพร้อมและมีความสนใจ เกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือหลายๆสิ่ง ที่อยากรู้หรือสงสัยในเรื่องนั้นๆ             ให้ละเอียดลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น อย่างมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ โดยกำหนดรูปแบบการทำงาน มีการวิเคราะห์และวางแผนงานอย่างเป็นระบบ  แล้วลงมือปฏิบัติด้วยวิธีการต่างๆอย่างหลากหลาย มีการสังเกตและบันทึกผลการปฏิบัติงานแต่ละขั้นตอน เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานในแต่ละขั้นให้บรรลุตามวัตถุประสงค์  มีการกำหนดรายละเอียดของงานไว้ล่วงหน้า   พร้อมทั้งคาดการณ์ผลที่จะเกิดขึ้น   ได้ชิ้นงาน/ผลงานที่สัมพันธ์กับหลักสูตรและนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ โดยมีครูที่ปรึกษา  หรือผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆคอยให้คำปรึกษา     ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติค้นหาคำตอบด้วยตนเอง ใช้ระยะเวลานานเพียงพอที่จะให้ได้พบคำตอบ แล้วนำความรู้นั้นมานำเสนอในรูปของงานที่เลือกอาจเป็นงานเขียน งานวาดภาพระบายสี การสร้างแบบจำลอง การเล่นบทบาทสมมุติ ละคร การทำหนังสือ หรือรูปแบบอื่นๆเพื่อนำเสนอต่อเพื่อนๆและผู้อื่นๆ แสดงให้เห็นถึความสำเร็จของกระบวนการศึกษาของตน
โพสท์ใน การเขียนเค้าโครงโครงงาน | ใส่ความเห็น